มารู้จักกับคลาวด์คอมพิวติ้ง
แนวความคิดของคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) เป็นการเข้าใช้บริการจากระบบคอมพิวเตอร์ผ่านทางการออนไลน์ โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามีทรัพยาการมากน้อยแค่ไหน หรือคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่ที่ใด ไม่ต้องสนใจเรื่องการจัดการทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (IT Infrastructure) นั้นๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ระบบอีเมลฟรีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Google Mail (gmail) หรือ Yahoo Mail เป็นต้น นิยามของคลาวด์คอมพิวติ้ง คลาวด์คอมพิวติ้ง เป็นลักษณะของระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรูปแบบของการระจายตามพื้นที่ต่างๆ มีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบคลัสเตอร์ (Cluster Network) ผ่านการจัดสรรทรัพยากรด้วยเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่น (Virtualization) เพื่อให้ตอบสนองงานบริการต่างๆ ให้รองรับกับจำนวนผู้ใช้งานจำนวนมากที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีระบบการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้ใช้บริการประเภทต่างๆได้ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Software as a service (SaaS) |
ลักษณะเด่นของระบบคลาวด์
- Capital expenditure: ประหยัดงบประมาณในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
- Device and location independence: ไม่จำกัดสถานที่ในการใช้งานและอุปกรณ์ แค่สามารถออนไลน์เข้าอินเทอร์เน็ตได้ก็สามารถใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งได้เลย
- Multi-tenancy: กลุ่มผู้ใช้งานมีความต้องการการใช้งานไม่เท่ากัน ทำให้ประหยัดในการลงทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ในการใช้งานในคลาวด์คอมพิวติ้ง
- สามารถจัดการหรือปรับเปลี่ยนระบบได้ง่าย (Sustainability) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน (Performance) หรือประหยัดการใช้งานทรัพยกรต่างๆ โดยไม่ต้องใช้วิศวกรที่มีความสามารถสูง ลดภาระด้านการจ้างบุคคล
- ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งจะทำให้ตัวเองกลายเป็นระบบการทำงานต่อเนื่องได้ตลอดเวลา แม้เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายจะล่มไปบ้าง
- Scalability: ระบบคลาวด์ออกแบบให้รองรับการขยายตัวของระบบได้ง่าย เพื่อรองรับปริมาณและความต้องการของผู้รับบริการ
- Security: มีระบบการรักษาความปลอดภัย เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถมั่นใจในการใช้งาน
- Maintainability: สามารถปรับปรุงระบบหรือซ่อมแซมได้ง่าย เพราะใช้จัดการจากส่วนกลางทั้งหมด
ส่วนประกอบของคลาวด์คอมพิวติ้ง
- Client: อุปกรณ์สำหรับเข้าใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้ง เช่น Mobile, Thin Client
- Services: บริการต่างๆที่เปิดให้บริการบนคลาวด์คอมพิวติ้ง เช่น Web service
- Application: บริการ Software ต่างๆ ที่เปิดให้ใช้งานบนคลาวด์ โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลง Software ไว้บนเครื่องของตัวเอง อาจมีการใช้งานรวมกับ Services ด้วย
- Infrastructure: โครงสร้างพื้นฐานที่รองรับกับระบบคลาวด์ โดยใช้ร่วมกับเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่น (Virtualization)
- Platform: เลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้งาน โดยอาจจะเลือกจาก Open Source หรือ Open System ที่มีหลากหลายในท้องตลาด
- Storage: เป็นปัจจัยหลักในการให้บริการ โดยอาจจะให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูล หรือรวมไปถึงการให้บริการด้านระบบฐานข้อมูลด้วย
- Standard: ระบบคลาวด์เป็นระบบที่สร้างจาก Open Source หรือ Open System เป็นหลัก ควรเลือก standard ต่างๆที่สามารถปรับเปลี่ยน หรือโยกย้ายได้ง่าย
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง
จำแนกตามบทบาทและหน้าที่
- Provider (ผู้ให้บริการ): ผู้ดูแลและจัดการระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง จัดสรรทรัพยากรต่างๆในระบบให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า รวมถึงคาดเดาความต้องการต่างๆในอนาคตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Amazon.com ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายแรก โดยมีจุดเด่นที่ระบบมีความง่ายและปรับเปลี่ยนรูปแบบได้อย่างรวดเร็ว และเก็บค่าใช้งานตามจริง
- User (ผู้ที่เข้ามาใช้การบริการ): เป็นผู้เช่าใช้ระบบอย่างเดียว ไม่ต้องกำหนดหรือวางแผนเรื่องการลงทุนด้านทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลทรัพยากร เพียงวางแผนและจัดสรรการใช้งานให้เพียงพอกับความต้องการหรือจำเป็นต้องใช้งานจริงๆ ทำให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องไอทีได้มาก
- Vendor (เจ้าของผลิตภัณฑ์): ผู้ที่จำหน่ายระบบโครงสร้างต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับคลาวด์คอมพิวติ้งโดยเฉพาะ เช่น
o Computer Hardware เช่น Dell, HP, IBM, SUN Microsystems
o Storage เช่น SUN Microsystems, EMC, IBM
o Network Infrastructure เช่น CISCO system
o Computer Software เช่น 3tera, Hadoop, Q-layer
o Operating Systems เช่น Solaris, Linux, AIX
o Platform Virtualization เช่น SUN xVM, Citrix, VMware, Microsoft
สถาปัตยกรรมโดยสรุป
หลักสำคัญคือการนำเอาซอฟต์แวร์ระบบที่รองรับการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งโดยอาศัยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มาทำงานร่วมกันให้บริการผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต สามารถรองรับกับความต้องการและปริมาณของผู้ใช้งานจำนวนมากๆ ได้